ประวัติตำบลตรัง
ประวัติตำบลตรัง
องค์การบริหารส่วนตำบลตรัง อำเภอมายอ
จังหวัดปัตตานี
สถานภาพและสภาพแวดล้อม
1 ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งและอาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลตรัง
ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอมายอ
จังหวัดปัตตานี ซึ่งตั้งของที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตรังอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอมายอ
ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะทางประมาณ 5
กิโลเมตร
และห่างจากตัวเมืองจังหวัดปัตตานี
28 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 15.64
ตารางกิโลเมตร
หรือคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ
9,777 ไร่ มีที่ดินสาธารณะประโยชน์ 562 ไร่
3 งาน 44 ตารางวา
โดยมีอาณาเขตติดต่อพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลเกาะจัน
ทิศใต้มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลลุโบะยิไร
ทิศตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลลุโบะยิไร-ตำบลเกาะจัน
ทิศตะวันตกมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลปะโด-ตำบลเกาะจัน
สภาพภูมิประเทศ
ตำบลตรัง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มทั้ง 4
หมู่บ้าน ทางตอนเหนือ และทางตอนใต้ของตำบล
จะเห็นจากแผนที่ตำบลมีเพียงบางส่วนในหมู่ที่ 3
มีลักษณะเป็นเนินเขาจะอยู่ตอนใต้สุดของตำบล บริเวณนี้เกษตรกรมีการปลูกยางพารา และทำสวนผลไม้ ซึ่งต่างจากบริเวณที่ราบลุ่ม จะเป็นบริเวณที่มีการทำนาข้าว
สภาพภูมิอากาศ
อากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน มี 2 ฤดูกาล
คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกรกฎาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงเดือนมกราคม
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตำบลตรังมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นป่าชุมชน มีต้นไม้ที่หายากหลายชนิด เช่น
ต้นตำเสา ต้นตะแบก ต้นตะเคียน
ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้มีเนื้อที่
12 ไร่
2
เขตปกครอง
จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตรัง 4
หมู่บ้านได้แก่
หมู่ที่
1
บ้านบองอ ผู้ปกครอง นางรอฮานี วาเตะ ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 2
บ้านตรัง ผู้ปกครอง
นายวันนะ ไชยแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 3 บ้านเขาวัง ผู้ปกครอง
นายอนัส ดือราแม กำนัน
หมู่ที่ 4
บ้านม่วงเงิน ผู้ปกครอง
นางสาวรอมีซ๊ะ เตะแต ผู้ใหญ่บ้าน
จำนวนประชากร
ประชากรทั้งสิ้น 3,232 คน แยกเป็น ชาย 1,611 คน หญิง 1,621 คน
จำนวนประชากรแยกตามหมู่บ้าน
หมู่ที่ |
ชื่อบ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนประชากร |
หมายเหตุ |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
||||
1 |
บ้านบองอ |
134 |
258 |
240 |
498 |
|
2 |
บ้านตรัง |
262 |
239 |
264 |
505 |
|
3 |
บ้านเขาวัง |
306 |
702 |
702 |
1,404 |
|
4 |
บ้านม่วงเงิน |
172 |
412 |
415 |
827 |
|
รวม |
813 |
1,611 |
1,621 |
3,232 |
|
ข้อมูลรายได้เฉลี่ยต่อคน/ปี
หมู่บ้าน |
ชื่อหมู่บ้าน |
รายได้เฉลี่ย |
1 |
บ้านบองอ |
36,567.72 |
2 |
บ้านตรัง |
52,627.88 |
3 |
บ้านเขาวัง |
44,170.60 |
4 |
บ้านม่วงเงิน |
29,317.39 |
รายได้เฉลี่ยของคนในพื้นที่ |
39,811.31 |
2.2 สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและกรีดยางพาราเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีอาชีพเสริม เช่น
การปลูกผักสวนครัว ทอผ้า เลี้ยงเป็ด
เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก บ่อดิน
เป็นต้น
นอกจากนี้ประชากรบางส่วนมีอาชีพรับราชการ เช่น ครู
อส. ทหาร ตำรวจ และรับจ้างทั่วไป
หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
1.
โรงสีขาว จำนวน 2 แห่ง
2.
บ้านเช่า จำนวน 4 แห่ง
3. ร้านค้าของชำ
/ร้านน้ำชา/กาแฟ จำนวน 25
แห่ง
4. ร้านซ่อมรถ จำนวน
2 แห่ง
5. ร้านเสริมสวย จำนวน 1 แห่ง
กลุ่มประชาชนต่าง
ๆ
1.
กลุ่มทำขนมบ้านบองอ หมู่ที่ 1
2.
กลุ่มผ้าบาติกบ้านบองอ หมู่ที่
1
3
3. กองทุนหมู่บ้านบ้านบองอ หมู่ที่ 1
4.
กลุ่มทอผ้าบ้านตรัง หมู่ที่
2
5.
กลุ่มทำขนมบ้านตรัง หมู่ที่
2
6.
กลุ่มธนาคารหมู่บ้านตรัง หมู่ที่
2
7.
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ที่
2
8.
กลุ่มปักผ้าคลุมผมสตรี/กะปิเยาะ หมู่ที่
3
9.
กลุ่มกองทุนหมู่บ้านเขาวัง หมู่ที่
3
10.
กลุ่มเยาวชนเลี้ยงปลา หมู่ที่
3
11.
กลุ่มปักผ้าคลุมผมสตรี/กะปิเยาะ หมู่ที่
4
12.
กลุ่มทำขนมบ้านม่วงเงิน หมู่ที่
4
13
กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน หมู่ที่
4
14.
กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ บ้านตรัง หมู่ที่ 2
15.
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หมู่ที่
2
2.3 สภาพทางสังคม
การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน
2 แห่ง
1.
โรงเรียนบ้านตรัง
2.
โรงเรียนบ้านเขาวัง
โรงเรียนมัธยมศึกษา
(ขยายโอกาส 1 แห่ง)
1.
โรงเรียนบ้านตรัง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน
2 แห่ง
1.
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตรัง
2.
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาวัง
โรงเรียนตาดีกา จำนวน 5 แห่ง
1.
โรงเรียนตาดีกามัดรอซาตุลตัรบียาตุลอัตฟาล (ม.1)
2.
โรงเรียนตาดีการาวคอตุลซุบบาน (ม.3)
3. โรงเรียนตาดีกาตัรบียาตุลอิสลามียะห์
(ม.3)
4.
โรงเรียนตาดีกากาโต (ม.4)
5.
โรงเรียนตาดีกานูรูลิสลาม (ม.4)
สถาบันและองค์กรศาสนา
ตำบลตรังมีประชาชนนับถือศาสนา
2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ ร้อยละ 25 หมู่ที่ 2 และนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 75 หมู่ที่ 1,3,4
วัด
จำนวน 1 แห่ง
1.
วัดประเวศน์ภูผา เจ้าอาวาส
หมู่ที่ 2
มัสยิด
จำนวน 5 แห่ง
1.
มัสยิดกำปงบองอ หมู่ที่ 1
2.
มัสยิดบูเกะแว หมู่ที่
3
4
3. มัสยิดกำปงบารู หมู่ที่ 3
4.
มัสยิดกาโต หมู่ที่
4
5.
มัสยิดเปาห์แปรอก หมู่ที่
4
บาลาเซาะห์ จำนวน 5 แห่ง
1.
บาลาเซาะห์บ้านเขาวัง (ตะวันออก) หมู่ที่
3 ผู้ดูแล นายหะมะ
เจ๊ะหลง
2.
บาลาเซาะห์บ้านเขาวัง (ตะวันตก) หมู่ที่
3 ผู้ดูแล นายดอเลาะ
แลแม
3.
บาลาเซาะห์บ้านเขาวัง (ตะวันตก) หมู่ที่
3 ผู้ดูแล นายอาลี
กาแม
4.
บาลาเซาะห์บ้านเขาวัง (ตะวันออก)
หมู่ที่ 3
ผู้ดูแล นายหะมะ มะแซ
5.
บาลาเซาะห์บ้านกาโต หมู่ที่ 4
ผู้ดูแล นายอาลี กูโน
สาธารณสุข
มีศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตรัง จำนวน
1 แห่ง จำนวนบุคลากร จำนวน 6
คน และมีอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตรัง จำนวน
28 คน
2.4 ระบบสาธารณูปโภค
การคมนาคม
1.
ถนนลาดยาง จำนวน 6 สาย
2.
ถนนลูกรัง จนวน 4 สาย
3.
ถนน คสล. ในหมู่บ้าน จำนวน 11 สาย
4.
ถนนหินคลุก 2 สาย
การไฟฟ้า
มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
แหล่งน้ำธรรมชาติ
คลอง
1 สาย
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
คลองส่งน้ำชลประทาน 4 สาย
ประปาหมู่บ้าน 2 แห่ง
2.5 ข้อมูลอื่น ๆ
1.
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จำนวน 60 คน
2.
ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน จำนวน 70 คน
3.
ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน 150 คน
4.
ศูนย์พัฒนาครอบครัว (คณะกรรมการ) จำนวน 13 คน
2.6 ศักยภาพในตำบล
ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลตรัง
(1.)
ผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตรัง
1.
นายรอมือลี วาแม็ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรัง
2.
นายอารง ดีแม็ง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรัง
3.
นายสาการียา แมแล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรัง
4.
นางกัลยารัตน์ ไชยแก้ว เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรัง
5
5. นางสุกัญญา หมวกแดง ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตรัง
6. นายหามะ วาแม็ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 1
7. นางสุกัญญา หมวกแดง รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 2
8. นายทวีศักดิ์ เจ๊ะเด็ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 3
9. นายซอฟวาน
ตีเยาะ
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
หมู่ที่ 3
10. นายมะแอ มาปะ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 4
11.
นายอัมดัม ดือราแม สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 4
(2)
จำนวนบุคลากร
ตำแหน่งในสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
1.
นางสาวฮาดีบะ อาแว นักทรัพยากรบุคคล
2. นางสาวนัจมี สาเมาะ นักวิชาการศึกษา
3. นางสาวอารียา เหมรา นักวิชาการสาธารณสุข
4. นางอารีนา
มาหามะ นักพัฒนาชุมชน
5. นางสาววาสนา สาเมาะ
เจ้าพนักงานธุรการ
6.
นางสาวสีตีมารีแย เจะมะ ครู คศ.2
7.
นางเพ็ญศรี สุวรรณกุล
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ (พนักงานจ้างตามภารกิจ)
8.
นางสาวโยหะนะ ตาเยะ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
(พนักงานจ้างตามภารกิจ) 9. นางสาวอาอีเสาะ เจ๊ะมิง ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ) (พนักงานจ้างตามภารกิจ)
10. นายตูแวเลาะ
ยือแร พนักงานขับรถยนต์ (พนักงานจ้างตามภารกิจ)
11.
นางสาวมัตตูรา วาแม็ง คนงานทั่วไป-
ตำแหน่งในกองคลัง
1.
นางสุธรรม พรหมศิริ
นักวิชาการเงินและบัญชี
2. นางสาวเปรมฤทัย
จันทร์อักษร เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
3. นางจุฑาพร ทองขาว ผู้ช่วยเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี (พนักงานจ้างตามภารกิจ)
4. นางสาวประไพ
เเก้วเอียด ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัสดุ
(พนักงานจ้างตามภารกิจ)
ตำแหน่งในกองช่าง
1. นายอับดุลเลาะ สะเยาะ นายช่างโยธา
2. นายนูรลัน กะลูแป ผู้ช่วยนายช่างโยธา
(3)
ระดับการศึกษาของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง
1. ประถมศึกษา จำนวน - คน
2.
มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน
– คน
3.
มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2 คน
4.
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน - คน
5.
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 3 คน
6. ปริญญาตรี จำนวน 15 คน
7.
ปริญญาโท จำนวน 2 คน
6
(4)
รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ประจำปีงบประมาณ 2564 แยกเป็น
1. รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง 564,944.02 บาท
2.
รายได้ที่ส่วนราชการต่างๆ จัดเก็บให้ 1,3552,381.81
บาท
3.
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 11,114,285
บาท
ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
(1) การรวมกลุ่มของประชาชน
1.
กลุ่มอาชีพ 9 กลุ่ม
2.
กลุ่มออมทรัพย์ 2 กลุ่ม
3.
กองทุนหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน
(2) จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล)
1. พื้นที่ตำบลตรัง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มทั้ง 4 หมู่บ้าน
ทางตอนเหนือ และทางตอนใต้ของตำบล จะเห็นจากแผนที่ตำบลมีเพียงบางส่วนในหมู่ที่ 3
ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินเขาจะอยู่ตอนใต้สุดของตำบล บริเวณนี้เกษตรกรมีการปลูกยางพารา
และทำสวนผลไม้ ซึ่งต่างจากบริเวณที่ราบลุ่มประชาชนจะมีอาชีพทำนา
ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลตรัง มีพื้นที่จำนวน 9,777 ไร่ ที่ดินสาธารณประโยชน์
จำนวน 562 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา
มีพื้นที่ทำนา ประมาณ 1,700
ไร่ พื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 3,000 ไร่ นอกนั้นเป็นเป็นพื้นที่ปลูกสวนผลไม้
การทำเกษตรผสมผสานและพื้นที่อยู่อาศัย ตำบลตรังมีคลองชลประทานไหลผ่านจำนวน 4 สาย
ซึ่งมีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี
2. พื้นที่ตำบลตรังมีป่าชุมชน ประมาณ 12
ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ที่หายาก
ทำให้มีพันธ์ไม้ยืนขนาดใหญ่หลายชนิด เช่น ต้นคะเคียน ต้นตำเสา ต้นตะแบก
เป็นต้น
3. ตำบลตรังมีกลุ่มทอผ้าที่เข้มแข็ง
ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2547 โดยการรวมกลุ่มสตรีในหมู่บ้านผลิตทอผ้า โดยได้รับสนับสนุนให้จัดตั้งเป็นศูนย์ศิลปาชีพ
เพื่อส่งเสริมการทอผ้าไม่ว่าจะเป็นผ้าทอลายพื้นเมือง
ที่มีเอกลักษณ์และรักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ผ้าลายจวนตานี
ผ้าลายราชวัตร ผ้าดอกพิกุล และผ้าขาวม้า ซึ่งเป็นผ้าทอที่มีคุณภาพ ลวดลายสวยงาม
ฝีมือประณีต ปัจจุบันมีการผลิตผ้าทอตามใบสั่งซื้อจากราชสำนัก
และทอผ้าเพี่อจำหน่ายในชุมชนและจำหน่ายในงานแสดงสินค้าต่างๆ ปัจจุบันมีสมาชิก 23
คน มียอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไม่รวมรายได้จากการถวายไปยังสำนักพระราชวัง ทั้งปี
495,000.-บาท
4.
ตำบลตรังมีกลุ่มออมทรัพย์ที่เข้มแข็งซึ่งเรียกว่า
ธนาคารหมู่บ้านตรัง
ซึ่งเริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่
22 พฤศจิกายน 2543
ได้มีผู้เข้าร่วมประชุมและฟังคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ที่มาประชุมในวันนั้นทั้งหมด
17 ราย โดยมีนายจรูญ ชุมช่วย
เป็นผู้นำในการติดต่อทางราชการให้คำแนะนำในการจัดตั้งธนาคารหมู่บ้านขึ้นในวันที่ 22 พฤศจิกายน
2543 มีสมาชิก 6 ราย เป็นจำนวนหุ้น 60 หุ้น เป็นเงิน 600 บาท ค่าธรรมเนียมสมาชิก 6 รายเป็นเงิน 120 บาท ธนาคารมีเงินทุนครั้งแรก 720 บาท
โดยใช้ศาลาหมู่บ้านเป็นที่ประชุมและรับฝากเงิน เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2543 มีสมาชิกสมัครเพิ่ม 14 ราย และเดือนต่อๆ
มาก็มีสมาชิกสมัครเพิ่มทุกเดือนจนถึงปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 250 คน โดยมีเงินหมุนเวียนต่อเดือน 400,000.-บาท
5.
ตำบลตรังมีวัฒนธรรมที่หลากหลายประชากรตำบลตรังร้อยละ 75 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ
25 นับถือศาสนาพุทธ มีวัดประจำตำบลจำนวน 1 แห่ง คือวัดประเวศน์ภูผา